การอ่านตัวโน๊ต

การอ่านตัวโน๊ต
คู่มือ Keyboard การอ่านตัวโน๊ต การอ่านบรรทัด 5 เส้น
เกี่ยวกับ การอ่านตัวโน๊ต การอ่านบรรทัด 5 เส้น


บรรทัด 5 เส้น , สัญลักษณ์ประจำตัวโน้ต
( Staff and Musical Names )


การกำหนดให้เสียงมีระดับสูงต่ำกว่ากันตามชื่อเรียกได้ต้องมีบรรทัด 5 เส้น
ภาษาอังกฤษเรียก สต๊าฟ (STAFF) ไว้สำหรับให้ตัวโน้ตยึดเกาะ
มีส่วนประกอบคือ จำนวนเส้น 5 เส้น จำนวนช่อง 4 ช่อง



ตัวโน้ตดนตรี หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงดนตรี
การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่างๆ ก็เช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือ
พยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำๆ จึงจะมีความหมาย
ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในทางดนตรีก็เช่นกัน ความคิดของผู้ประพันธ์เพลง
(Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ตเพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรีผู้นั้น
ไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่าง ๆ นั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟัง
1 ตัวโน้ตดนตรี
เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดย กีโด เดอ อเรซ์โซ (Guido d’ Arezzo, 995-1050) บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่อให้นักดนตรีทราบถึงความ
สั้น – ยาว, สูง – ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี (Music Notation) พอสังเขปดังนี้



จากภาพข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า
โน้ตตัวกลม 1ตัว = ได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว
โน้ตตัวขาว 1 ตัว = ได้ตัวดำ 2 ตัว
โน้ตตัวดำ 1 ตัว = ได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัว = ได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว


โน๊ต

การอ่านโน๊ตบรรทัด 5 เส้น
ตัว C = ก็คือโน้ต โด (Do)
D = คือโน้ต เร (Re)
E = คือโน้ต มี (Mi)
F = คือโน้ต ฟา (Fa)
G = คือโน้ต โซ (So)
A = คือโน้ต ลา (La)
B = คือโน้ต ที (Ti)
***การเรียกชื่อโน้ตบางตัวอาจมีข้อแตกต่างกันบ้าง เช่น โน้ตตัวโซ บางทีออกเสียง ซอ (Soh) หรือซอล (Sol) ซึ่งบางทีออกเสียงโซล ในทุกกรณีม่ผิด แต่ในที่นี้ใช้คำว่า โซ เพราะเป็นที่นิยมแพร่หลายและมีความเป็นสากลมากที่สุด นอกจากนี้ การใช้สระเปิด (ไม่มีพยัญชนะท้าย) ทำให้สะดวกในการเปล่งเสียงร้องโน้ต และยังสอดคล้องกับโน้ตตัวอื่น ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นสระเปิดทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม มีนักเรียนไทยจำนวนมากออกเสียง ซอน ซึ่งไม่ถูกต้อง
สำหรับการเรียกชื่อโน้ตตัวที บางตำราอาจใช้ ซี (Si) ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ที่ไม่แนะนำให้ใช้เพราะอาจสับสนกับโน้ตตัว C (ซี) ในระบบตัวอักษร และเป็นพยางค์ที่ใช้อ่านร้องโน้ตตัว G# ในระบบหนึ่ง


ดนตรี

ดนตรี (อังกฤษ: music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้
ประโยชน์ของเสียงดนตรี
·         พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
·         พัฒนาด้านอารมณ์
·         พัฒนาด้านภาษา
·         พัฒนาด้านร่างกาย
·         พัฒนาด้านปัญญา
·         พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคล
·         พัฒนาด้านสุนทรีย์
·         พัฒนาสมองให้มีความคิดที่ดี




แซกโซโฟน (อังกฤษ: saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet)
แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว
ประวัติผู้ประดิษฐ์
อาดอลฟ์ ซักซ์ (Adolphe Sax) มีชื่อจริงว่า "อ็องตวน-โฌแซ็ฟ ซักซ์" แต่คนทั่วไปเรียกเขาว่า อาดอลฟ์ ซักซ์ เป็นชาวเบลเยียมเกิดที่เมืองดีน็อง (Dinant) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ ชาร์ล-โฌแซ็ฟ ซักซ์ (Charles-Joseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเนต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ อาดอลฟ์ ซักซ์ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆ จากบิดา ในขณะเดียวกัน ซักซ์ยังได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันดนตรีแห่งกรุงบรัสเซลส์ โดยเรียนเป่าฟลุตและคลาริเนต
ในปี ค.ศ. 1830 อาดอลฟ์ ซักซ์ได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีของเขาเป็นครั้งแรก โดยมีฟลุตและคลาริเนตซึ่งทำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ ในปี ค.ศ. 1838 เขาได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเนต ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 เขาได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและนำออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 แต่คณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุน้อย ในที่สุดเขาได้ย้ายไปตั้งร้านประดิษฐ์และซ่อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1842 ร้านของเขาได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองในสมัยนั้น
เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่กรุงปารีสเมื่ออายุ 79 ปี
ในระยะต้นของต้นคริสต์ศตรรษที่ 20 บริษัทเฮนรี่ เซลเมอร์แห่งปารีสได้ซื้อร้านของอาดอลฟ์ ซักซ์ ต่อของเขามาดำเนินการแทน และได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อ เซลเมอร์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920
ชนิดของแซกโซโฟน[แก้]
ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่าง ๆ ถึง 7 ขนาดด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน ได้กล่าวเกี่ยวกับชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซโฟนโซปราโน, แซกโซโฟนอัลโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟนในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซกโซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนอัลโต้ แซกโซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน
1.    โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความถี่ยังไม่สูงที่สุด มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟนก็ได้ โซปราโนแซกโซโฟนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซกโซโฟนใหม่ๆ เนื่องจากมีความยากในการคุมเสียงมากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนใวโอลินในช่วงโพสิชั่นที่หนึ่ง(1st)ในวงประเภทเครื่องเป่า ระดับเสียง Bb เท่ากับเครื่องดนตรีคลาริเน็ตและทรัมเป็ต ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า
2.    อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ค่อนข้างเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซกโซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิดอื่น ๆ รวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง, คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนใวโอลิน-วิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย
3.    เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ ระดับเสียงBb และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้ (โทนเสียงที่เล่นได้จะอยู่ในโทนอัลโต้-เทนเนอร์) ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนวิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเริ่มต้น
4.    บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่และมีความถี่เสียงต่ำ แต่ยังสามารถที่จะบรรเลงเดื่ยวได้เพราะโทนเสียงอยู่ในช่วงโทนเทนเนอร์-เบส ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเชลโล่ในวงประเภทเครื่องเป่า และมีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนัก ดังนั้นบาริโทนแซกโซโฟนจึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย ความยาวท่อของบาริโทนแซกโซโฟนจะอยู่ประมาณ 7 ฟุต
5.    เบสแซกโซโฟน (Bass Saxophone) ระดับเสียงBb เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเสียงต่ำกว่าเทนเนอร์แซกฯ 1ช่วงคู่แปด และ ต่ำกว่าบาริโทนแซกฯเป็นคู่ 4 สมบูรณ์ เล่นโทน เบส เป็นหลัก ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเสียงคอนทร่าเบสในวงประเภทเครื่องเป่า
6.    คอนทร่าเบส แซกโซโฟน (Contrabass Saxophone) (Eb) เป็นเครื่องที่มีขนาดเกือบที่จะใหญ่ที่สุด มีความยาวเป็นสองเท่าของบาริโทนแซกฯ มีความสูงของเครื่องมากกว่าคนเล็กน้อย มีช่วงเสียงต่ำกว่าบาริโทนแซกฯ 1 ช่วงคู่แปด เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นได้ยาก แต่ยังคงมีการผลิตอยู่ไม่มาก เสียงจะเป็นลักษณะ Buzzy มากกว่าจะบอกได้ว่าเล่นโน้ตตัวอะไรเพราะความใหญ่ของตัวเครื่องต่อปากเป่า
7.    ซับคอนทร่าเบส แซกโซโฟน (Subcontrabass Saxophone) (Bb) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
 
อัลโต้ แซกโซโฟน
เทนเนอร์แซกโซโฟน