การอ่านตัวโน๊ต

การอ่านตัวโน๊ต
คู่มือ Keyboard การอ่านตัวโน๊ต การอ่านบรรทัด 5 เส้น
เกี่ยวกับ การอ่านตัวโน๊ต การอ่านบรรทัด 5 เส้น


บรรทัด 5 เส้น , สัญลักษณ์ประจำตัวโน้ต
( Staff and Musical Names )


การกำหนดให้เสียงมีระดับสูงต่ำกว่ากันตามชื่อเรียกได้ต้องมีบรรทัด 5 เส้น
ภาษาอังกฤษเรียก สต๊าฟ (STAFF) ไว้สำหรับให้ตัวโน้ตยึดเกาะ
มีส่วนประกอบคือ จำนวนเส้น 5 เส้น จำนวนช่อง 4 ช่อง



ตัวโน้ตดนตรี หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงดนตรี
การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่างๆ ก็เช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือ
พยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำๆ จึงจะมีความหมาย
ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในทางดนตรีก็เช่นกัน ความคิดของผู้ประพันธ์เพลง
(Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ตเพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรีผู้นั้น
ไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่าง ๆ นั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟัง
1 ตัวโน้ตดนตรี
เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดย กีโด เดอ อเรซ์โซ (Guido d’ Arezzo, 995-1050) บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่อให้นักดนตรีทราบถึงความ
สั้น – ยาว, สูง – ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี (Music Notation) พอสังเขปดังนี้



จากภาพข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า
โน้ตตัวกลม 1ตัว = ได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว
โน้ตตัวขาว 1 ตัว = ได้ตัวดำ 2 ตัว
โน้ตตัวดำ 1 ตัว = ได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัว = ได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น